- หน้าแรก
- ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
สศท.2 ร่วมประชุม คกก. Big Data เกษตรฯ จ.สุโขทัย ครั้งที่ 1/2566
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ผอ.สศท.2พิษณุโลก) มอบหมายให้ นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศการเกษตร ร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำระบบฐานข้อมูลสำคัญ (Big Data) ด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมคีรีมาศ ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ชั้น 4 อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีนางจันทิรา โยธิการ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย เป็นประธานการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจ้งให้คณะทำงานฯ ทราบถึงการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ทรัพยากรภาคเกษตร ปี 2565 และตรวจสอบข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการเกษตรสหกรณ์ระดับจังหวัด และทบทวนรายชื่อผู้ประสานงานจัดทำฐานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ คลังจังหวัดสุโขทัย ประชาสัมพันธ์กิจกรรมบุฟเฟ่ต์ทุเรียน @ไร่สานฝัน ในวันที่ 1-5 กรกฎาคม 2566 ราคาผู้ใหญ่ 499 บาท/คน และเด็ก 250 บาท/คน และกิจกรรมจองทุเรียนในสวน size M 780 บาท (น้ำหนักลูกละ 3 กก.) และ size L (น้ำหนักลูกละ 4 กก.)
ในครั้งนี้ สศท.2 นำเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรและแนวโน้ม รายไตรมาส ปี 2566 พร้อมทั้งนำเสนอข้อค้นพบจากการตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำคัญ Big Data ด้านการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุโขทัย ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ดังนี้
ข้อค้นพบจากการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลด้านการเกษตร
* ลักษณะข้อมูลส่วนใหญ่ในแต่ละประเด็นที่นำมาจัดทำเป็น Big Data จะมีเฉพาะข้อมูลปีล่าสุด ไม่ค่อยมีข้อมูลในลักษณะที่เป็นฐานข้อมูลสถิติ ทำให้ไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล หรือยากต่อการคาดการณ์สถานการณ์แนวโน้ม ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา หรือแก้ปัญหาด้านการเกษตร รายชนิดสินค้า
* ในระบบดังกล่าว มีบรรจุข้อมูลภาวะเศรษฐกิจจังหวัดไว้ แต่ไม่มีข้อมูลภาวะเศรษฐกิจการเกษตรและแนวโน้ม รายไตรมาส ระดับจังหวัด ที่ สศท.2 จัดทำต่อเนื่องไว้ ซึ่งทาง สศท.2 จะจัดส่งข้อมูลมาลงในระบบฐานข้อมูลสำคัญ Big Data
ข้อเสนอแนะ
* ข้อมูลแต่ละประเด็นที่แต่ละหน่วยงานจัดทำและส่งให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ นั้น ควรเพิ่มข้อมูลเชิงลึก อาทิ สถิติย้อนหลัง 5-10 ปี หรืออย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้สามารถจะนำไปต่อยอดจัดทำเป็น Dashboard ที่นำเสนอในรูป ภาพ กราฟ ด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft Power Query และ Power BI นำเสนอผู้บริหารระดับกษ. ระดับจังหวัด ซึ่งทุกหน่วยงานสามารถจัดทำได้เอง โดยควรให้มอบหมายนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในสังกัด ดำเนินการ ซึ่ง สศท.2 มีแผนการจัดอบรมแลกเปลียนเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่านระบบ Zoom เรื่อง “การจัดการและจัดทำข้อมูล Dashboard ด้วย Power Query และ Power BI” ให้ทุกหน่วยงานภายในและภายนอกสังกัด กษ. สามารถนำไปจัดการและจัดทำข้อมูล Dashboard ของตนเอง เก็บไว้ใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน หรือนำไปบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ให้เป็น Big Data ด้านการเกษตรและสหกรณ์ ระดับจังหวัดได้
* ข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวม ทาง สศท.2 มีแผนจะดำเนินการเองอยู่แล้ว โดยจะใช้ข้อมูลเอกภาพระดับประเทศมาเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำ ซึ่งทุกหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์จาก Dashboard นี้ได้ โดย สศท2 จะเผยแพร่ใน web site สศท.2 หรือ กด link เข้าชม Dashboard สินค้าเกษตรของ สศท.2 ได้ที่ https://oaezone.oae.go.th/view/5/dashboard_product/TH-TH
* ข้อมูลพยากรณ์ หรือคาดการณ์สินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัด ทางสศท.2 จะต้องประเมินจากพื้นที่ส่งให้ทางศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก ส่วนกลาง เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำเป็นข้อมูลพยากรณ์เผยแพร่อยู่แล้ว แต่เมื่อผ่านไป 1 ปี จะนำมาจัดทำเป็นเอกภาพระดับภาค และประเทศต่อไป
* งานจัดทำข้อมูลสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจาก ผตร.กษ. อาทิ สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ สินค้าเกษตรปลอดภัย (อินทรีย์/GAP/PGS) สินค้าเกษตรมูลค่าสูง สินค้า BCGของจังหวัด สินค้าที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตร สศท.2 จะบูรณาการทำงานร่วมกับ สนง.เกษตรจังหวัด หรือ สนง.ปศุสัตว์จังหวัด หรือ สนง.ประมงจังหวัด ซึ่งต้องชี้แจงกรอบแนวคิด และแนวทางการจัดทำข้อมูล (นิยาม กระบวนการสำรวจ การชี้แจงแบบสอบถาม) เพื่อให้หน่วยงานที่ร่วมทำงาน มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เกิดความเป็นเอกภาพของข้อมูลเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน
* ข้อมูลด้านเศรษฐกิจครัวเรือนเกษตร ด้านปริมาณการผลิต ด้านต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ หากจังหวัดมีการจัดทำไว้ ขอให้ประสานหารือ หรือขอข้อมูลจาก สศท.2 มาพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่นำมาบรรจุรวมเป็นข้อมูล Big Data จังหวัด เพราะข้อมูลทีผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงานพิจารณาข้อมูลเอกภาพระดับภาค อาจมีการปรับตัวเลขเมื่อเข้าสู่คณะทำงานพิจารณาข้อมูลระดับประเทศ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก
ในครั้งนี้ สศท.2 นำเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรและแนวโน้ม รายไตรมาส ปี 2566 พร้อมทั้งนำเสนอข้อค้นพบจากการตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำคัญ Big Data ด้านการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุโขทัย ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ดังนี้
ข้อค้นพบจากการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลด้านการเกษตร
* ลักษณะข้อมูลส่วนใหญ่ในแต่ละประเด็นที่นำมาจัดทำเป็น Big Data จะมีเฉพาะข้อมูลปีล่าสุด ไม่ค่อยมีข้อมูลในลักษณะที่เป็นฐานข้อมูลสถิติ ทำให้ไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล หรือยากต่อการคาดการณ์สถานการณ์แนวโน้ม ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา หรือแก้ปัญหาด้านการเกษตร รายชนิดสินค้า
* ในระบบดังกล่าว มีบรรจุข้อมูลภาวะเศรษฐกิจจังหวัดไว้ แต่ไม่มีข้อมูลภาวะเศรษฐกิจการเกษตรและแนวโน้ม รายไตรมาส ระดับจังหวัด ที่ สศท.2 จัดทำต่อเนื่องไว้ ซึ่งทาง สศท.2 จะจัดส่งข้อมูลมาลงในระบบฐานข้อมูลสำคัญ Big Data
ข้อเสนอแนะ
* ข้อมูลแต่ละประเด็นที่แต่ละหน่วยงานจัดทำและส่งให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ นั้น ควรเพิ่มข้อมูลเชิงลึก อาทิ สถิติย้อนหลัง 5-10 ปี หรืออย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้สามารถจะนำไปต่อยอดจัดทำเป็น Dashboard ที่นำเสนอในรูป ภาพ กราฟ ด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft Power Query และ Power BI นำเสนอผู้บริหารระดับกษ. ระดับจังหวัด ซึ่งทุกหน่วยงานสามารถจัดทำได้เอง โดยควรให้มอบหมายนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในสังกัด ดำเนินการ ซึ่ง สศท.2 มีแผนการจัดอบรมแลกเปลียนเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่านระบบ Zoom เรื่อง “การจัดการและจัดทำข้อมูล Dashboard ด้วย Power Query และ Power BI” ให้ทุกหน่วยงานภายในและภายนอกสังกัด กษ. สามารถนำไปจัดการและจัดทำข้อมูล Dashboard ของตนเอง เก็บไว้ใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน หรือนำไปบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ให้เป็น Big Data ด้านการเกษตรและสหกรณ์ ระดับจังหวัดได้
* ข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวม ทาง สศท.2 มีแผนจะดำเนินการเองอยู่แล้ว โดยจะใช้ข้อมูลเอกภาพระดับประเทศมาเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำ ซึ่งทุกหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์จาก Dashboard นี้ได้ โดย สศท2 จะเผยแพร่ใน web site สศท.2 หรือ กด link เข้าชม Dashboard สินค้าเกษตรของ สศท.2 ได้ที่ https://oaezone.oae.go.th/view/5/dashboard_product/TH-TH
* ข้อมูลพยากรณ์ หรือคาดการณ์สินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัด ทางสศท.2 จะต้องประเมินจากพื้นที่ส่งให้ทางศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก ส่วนกลาง เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำเป็นข้อมูลพยากรณ์เผยแพร่อยู่แล้ว แต่เมื่อผ่านไป 1 ปี จะนำมาจัดทำเป็นเอกภาพระดับภาค และประเทศต่อไป
* งานจัดทำข้อมูลสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจาก ผตร.กษ. อาทิ สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ สินค้าเกษตรปลอดภัย (อินทรีย์/GAP/PGS) สินค้าเกษตรมูลค่าสูง สินค้า BCGของจังหวัด สินค้าที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตร สศท.2 จะบูรณาการทำงานร่วมกับ สนง.เกษตรจังหวัด หรือ สนง.ปศุสัตว์จังหวัด หรือ สนง.ประมงจังหวัด ซึ่งต้องชี้แจงกรอบแนวคิด และแนวทางการจัดทำข้อมูล (นิยาม กระบวนการสำรวจ การชี้แจงแบบสอบถาม) เพื่อให้หน่วยงานที่ร่วมทำงาน มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เกิดความเป็นเอกภาพของข้อมูลเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน
* ข้อมูลด้านเศรษฐกิจครัวเรือนเกษตร ด้านปริมาณการผลิต ด้านต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ หากจังหวัดมีการจัดทำไว้ ขอให้ประสานหารือ หรือขอข้อมูลจาก สศท.2 มาพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่นำมาบรรจุรวมเป็นข้อมูล Big Data จังหวัด เพราะข้อมูลทีผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงานพิจารณาข้อมูลเอกภาพระดับภาค อาจมีการปรับตัวเลขเมื่อเข้าสู่คณะทำงานพิจารณาข้อมูลระดับประเทศ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก